Thursday, July 23, 2015

Preparing for spoonfeeding in clinical years

จริงๆสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเรียนในชั้นคลินิก และการทำงานในชีวิตจริง ไม่ใช่การอ่านหนังสือ แต่เป็นการฟังที่ดี และจำให้เร็วมากกว่า

ไม่ใช่สำคัญที่การอ่านหนังสือเยอะๆ แต่สำคัญที่ "ความจำ"

การเรียนรู้ก็เรียนรู้จากอาจารย์ที่เคารพและศรัทธา สำคัญกว่าตำรา

ถ้าจะอ่านหนังสือ อ่าน paper ก็ไม่ใช่เพราะเราสนใจ แต่เพราะเราศรัทธาในตัวอาจารย์ หรือชอบวอร์ดมากกว่า

โดยสรุปก็คือ อาศัยการตั้งใจฟัง และความจำที่ดี

การฟังที่ดี ผมคิดว่าอาศัย 2 ส่วนด้วยกัน คือ ฟังให้ครบทุกคำที่ได้ยิน และแปลงสิ่งที่ฟังเป็นความจำได้

ผมว่าชัดเลย เวลาพยายามจะฟังและจำทุกอย่างที่อาจารย์พูด พยายามอัดเสียงแล้วฟังซ้ำแล้วซ้ำเล่า เล่นเสียงให้มันพูดช้าลง ก็ยังไม่ง่ายเลยที่จะจำได้ทุกคำพูด (ใช้ app ใน android ช่วย ชื่อว่า Audipo)

แต่ ideal ที่สุด คือ ฟังในชีวิตประจำวันได้ คือ ฟังครั้งเดียว ความเร็วปกติ แล้วจำได้ให้หมด แม้กระทั่งกับการฟังอาจารย์ที่พูดเร็ว

ผมรู้ว่ามันเป็นไปได้ แค่ต้องรู้ว่าสิ่งที่จะฝึกคืออะไร และใช้เวลาฝึกฝน

Sunday, July 19, 2015

Memory techniques I am learning to use

วิธีการจำที่ดีมีหลักสำคัญใหม่อยู่ 2 ส่วน คือ

  1. สร้างความสัมพันธ์
  2. สร้างหัวข้อตำแหน่งที่จำ (topos - topic)
มาหัวข้อที่ 2 ก่อน

การสร้างตำแหน่งในความจำ เพื่อจำเป็นหัวข้อ ผมทำได้ง่ายๆโดยการนึกถึงสถานที่ โดยมักจะเป็นที่บ้านเกิดของผม จินตนาการว่าเรากำลังเดินเข้าไปในบ้าน ป้ายชื่อบ้านเขียนว่าอะไร มีอะไรวางอยู่หน้าบ้านบ้าง ในบ้านชั้นล่างสุดมีอะไรบ้าง ชั้นสองห้องแรกมีอะไรบ้าง ห้องที่สองมีอะไรบ้าง ไล่ไปเรื่อยๆจนถึงดาดฟ้า จินตนาการถึงความสัมพันธ์ระหว่างหัวข้อที่เราต้องการจำกับห้องที่เราเดินผ่าน 1 ห้อง = 1 หัวข้อ จินตนาการถึงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาในแต่ละหัวข้อกับสิ่งของต่างๆที่วางอยู่ในห้อง บางครั้งจำนวนหัวข้อมีเยอะกว่าจำนวนห้องในบ้าน ก็จินตนาการว่า พอเราเดินขึ้นถึงดาดฟ้าแล้ว เราก็เหาะลอยขึ้นไปจากดาดฟ้า แล้วก็ร่อนลงมาที่เซเว่นข้างๆบ้าน และเราก็เริ่มเดินไปเรื่อยๆจนถึงตลาด (วิธีนี้เรียกว่า Roman Room Technique)

บางครั้ง เราอาจจะเริ่มสำรวจบ้านจากบนดาดฟ้า ค่อยๆลงมาจนถึงชั้นล่างสุดก็ได้ หรืออาจจะสำรวจที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านก็ได้ เช่น จินตนาการถึงถนนจากบ้านไปโรงเรียน ต้องผ่านตึกแถว 4 บล็อกใหญ่ๆ 1 บล็อก เท่ากับ 1 หัวข้อ

หรือจะจินตนาการเป็น mind map แทนที่จะเป็นการไล่ไปตามห้องก็ได้ จินตนาการว่าเราร่อนลงมาจากฟ้า ร่อนลงมาที่กลางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แล้วก็ไล่หัวข้อไปตามวงเวียนแต่ละแยก แล้วก็แตกย่อยออกไปไกลมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่กำลังฝึกตอนนี้ คือการแต่งเรื่องความสัมพันธ์ให้มันดู dramatic จะได้จำได้ นึกออก ไม่ผิด ครับ

มีอีกเทคนิคหนึ่งที่แนะนำได้ คือ การจำตัวเลขครับ อาจจะใช้
0 - zero, c, s
1 - t, th, d
2 - n
3 - m
4 - R
5 - L
6 - J, g, sh, ch
7 - K, ng
8 - f, v
9 - P, b
แล้วก็สร้างเป็นคำ เป็นสิ่งของ สัมพันธ์กับห้องโรมันที่เราต้องการจะจำ

---
สรุป การเรียนรู้สมัยเด็ก ผิดมากที่เราคิดว่าจะต้องท่อง ท่องไปเรื่อยๆจนกว่าจะจำได้ โดยเฉพาะสำหรับคนที่ไม่ใช่ auditory learner

Thursday, July 2, 2015

การฟังที่ดี และจำเนื้อหาได้มาก

ผมคิดว่าเคล็ดลับที่จะทำให้จำเนื้อหาได้มากมีอยู่ 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตั้งใจฟัง, มีการจดบันทึกที่ดี และ ทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้น คนที่จะฟังแล้วได้ความรู้มากที่สุด คือ คนที่ multitask ได้ ฟังแล้วจดบันทึกไปพร้อมๆกันได้ ฟังก็ตั้งใจฟัง จดบันทึกก็ได้เนื้อหาครบถ้วน ไม่ใช่ว่ามีแค่เนื้อหาที่สำคัญหรือมีแค่หัวข้อสำคัญ

ผมก็ไม่ใช่คนที่วิเศษวิโสขนาดนั้นหรอก แต่ผมพอคิดหาตัวช่วยได้... ดังนี้

  1. การฟังที่ดีให้จดบันทึกให้น้อยที่สุด
  2. ถ่ายรูป slide แทบทุกหน้า แต่ไม่ควรจะเสียเวลา crop หรือจัด format รูป
  3. อัดเสียงเท่าที่อัดได้ ฟัง lecture รอบแรกไม่ต้องจดบันทึก รอบสองให้จดบันทึกให้ครบถ้วน
    • หรือในทางกลับกัน ตอนฟัง lecture จริงให้จดบันทึก ส่วนรอบฟังเสียงบันทึกให้ตั้งใจฟัง
    • แต่เราต้องคิดด้วยว่าเสียงเรา rewind กี่ครั้งก็ได้ แต่ lecture จริง เราฟังได้ครั้งเดียว
    • มีคนเสนอวิธีว่า เวลาเราฟังเสียง อาจจะใช้วิธีแกะเทปเป็นตัวหนังสือให้ครบถ้วน
  4. ค่อยมาทำ lecture note ทีหลัง ไม่ทำขณะบรรยาย
  5. อาจจะอัด video ก็ดีนะ แต่ก็ต้องมาแกะเป็น lecture note อยู่ดี เวลาทบทวนจะได้ง่าย
  6. ถ้าขอ slide มาจากคน lecture ได้ก็ดีนะ แต่ก็ควรจะมาทำใหม่เป็น lecture note อยู่ +/- อัดเสียงพูดด้วย เพราะว่าไม่ได้มีอยู่ใน slide
ผมควรจะ research เรื่องถัดไป -- how to make a good lecture note???

-------------------------

จริงๆมีการฟังอีกกรณีหนึ่ง คือ ขณะ round หรือ informal lecture ที่ไม่มี slide กรณีถ่ายภาพไม่ช่วย อัดเสียงไม่สะดวก คงมีเพียง multitasking ที่ดี และการจดบันทึกที่ดี กระมั้ง???

Wednesday, July 1, 2015

How to read textbooks for med students

อ่านหนังสือเรื่องอายุรกรรมให้ดีได้อย่างไร

ผมคิดว่าสิ่งแรกที่สำคัญที่สุด คือ ฟังอาจารย์แพทย์ที่มีประสบการณ์เยอะๆให้มากเข้าไว้ก่อนครับ ก่อนที่จะไปอ่านหนังสือ

การอ่าน textbook เพื่อไปปฏิบัติเวชกรรม หลักคือ

  1. อ่านหนังสือหลายๆเล่ม หลายๆ topic
  2. ไม่จำเป็นต้องจำทุกอย่างที่มีอยู่ในหนังสือ แต่จำเป็นต้องรู้สิ่งที่ไม่ได้เขียนในหนังสือด้วย
  3. จัดระบบความคิดด้วยผังความคิด หรือตาราง แล้วเราจะเริ่มรู้ว่าอะไรที่เราต้องรู้แต่หนังสือไม่ได้ให้คำตอบ
  4. สิ่งที่หนังสือไม่ได้ให้คำตอบ เราอาจจะหาคำตอบได้จาก... คนไข้ รุ่นพี่ อาจารย์ paper/journal ตั้งแต่ระดับ guideline, systematic review, RCT และ trial ต่างๆ และ case studies
  5. แม้แต่สิ่งที่หนังสือให้คำตอบ เราก็ต้องนำมา confirm เหมือนกับข้อ 4
  6. ขั้นต่อไปคือ การจดบันทึกที่ค้นหา อ่านง่าย และการจำ
---------
Update 5/7/58
การจำตำรา อาจใช้วิธีการวาดตารางหรือ grid ซึ่งจะสามารถให้คำตอบแก่เราอยากครบถ้วน ว่ามีข้อมูลอะไรที่เราอยากรู้ แต่ไม่ยอมเขียนในหนังสือ

การจำ grid อาจจะใช้วิธีห้องโรมัน ซึ่งทำให้จำตารางได้แม่น ง่าย และไม่มีข้อผิดพลาด (วิธีนี้จาก Secret of Super Memory ของ Eran Katz ครับ)