Wednesday, July 13, 2016

แพทย์รังสีรักษา และแพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์

ผมเพิ่งมา elective รังสีรักษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์

ว่าแต่ว่า รังสีรักษา คืออะไร เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง



ภาควิชารังสีวิทยา (radiology) ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 แขนง คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ที่เราๆรู้จักกันดีที่สุดก็เห็นจะเป็น รังสีวินิจฉัย ก็คือ รังสีแพทย์ คนอ่านฟิล์ม ผล official

ส่วนรังสีรักษา (radiotherapy) จะเป็นแนว oncology + radiosurgery + anatomy ซึ่งมีศาสตร์ของการอ่าน CT/MRI แล้วก็วางแผนฉายแสง ซึ่งอาจจะทำลายทั้งเนื้อเยื่อดีและไม่ดี คล้ายๆกับการผ่าตัด การวางแผนทำบนคอมพิวเตอร์ และวาดเส้นลงบนตัวคนไข้

ส่วนเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (nuclear medicine) ผมไม่ได้ลอง elective ดู แต่ว่าเป็นแนว radiopharmaceutical คือ เป็นยาแรงๆ คล้ายๆเคมีบำบัด แต่ปล่อยรังสีได้ อีกครึ่งหนึ่งก็จะเป็นเรื่องของ nuclear imaging คือ อารมณ์ประมาณ contrast media ที่ปล่อยรังสีได้ แล้วอาจจะเอา gamma camera จับ

จะเห็นว่า รังสีรักษา จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ปล่อยรังสีได้ จึงจะมีอุปกรณ์รักษาคนไข้ อย่างเช่น Co-60 + ผนังตะกั่วหนา 6 นิ้ว หรือไม่ก็ต้องเป็นเครื่องเร่งอนุภาค (เช่น LINAC, cyclotron) ซึ่งมีราคาแพงมาก รพ.เล็กๆ ไม่มีแน่นอน

ส่วนเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อาจจะซื้อ I-131 หรือ Mo-99 จากบริษัทที่จำหน่าย radiopharmaceutical หรือไม่ก็ต้องใช้เครื่องเร่งอนุภาคผลิตเสียเอง (อาจจะเป็นพวก cyclotron) ซึ่งก็มีราคาแพงเหมือนกัน

ข้อดีของรังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือ มีช่องทางให้วิจัย ศึกษาเพิ่มเติมได้มาก แต่ข้อเสียคือ อุปกรณ์ราคาแพง มีที่ทำงานน้อยแห่ง แต่สถานที่ที่เราจะทำงาน ก็ใช่ว่าจะมีอุปกรณ์ครบเท่าที่ที่เรียน

Thursday, May 12, 2016

จัดระเบียบแพทย์ทั่วไป (GP) ในความคิดของผม

รู้สึกไหมว่าแพทย์จบใหม่มีภาระในการทำงานมากเกินไป คือ ผู้ป่วยรักษายากเกินไป ในมุมมองของผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้รับผลประโยชน์โดยตรง ถือว่าทำได้ไม่เพียงพอ

แพทย์จบใหม่หรือที่กำลังจะจบ (extern, intern) ควรมีบทบาทเป็นผู้คัดกรอง acute severe condition ในโรงพยาบาลชุมชนเป็นภาระงานที่สำคัญที่สุด และระบบก็ควรจะบริหารให้มี requirement น้อยที่สุดด้วย เพื่อที่แพทย์จะได้ทำงานได้ sufficiently good quality


เร่งด่วนที่สุด คือ ER (emergency room, ห้องฉุกเฉิน) แพทย์โรงพยาบาลชุมชนควรจะทำได้ทุกคน

แต่ที่รองลงมา คือ OPD ตรวจโรคทั่วไป การตรวจโรคพื้นฐานควรจะทำเป็นทุกคน แต่จำเป็นต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรับ refer ได้เสมอทุกกรณี โดยเฉพาะ

  • ผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี (elderly)
  • เด็กแรกเกิด อายุน้อยกว่า 1 เดือน (newborn)
  • เด็กทารก อายุน้อยกว่า 1 ปี (infant)
  • เด็กเล็ก อายุ 1-12 ปี (children)
  • วัยรุ่น อายุ 13-19 ปี (adolescent)
  • หญิงมีครรภ์
  • สตรี (มีมดลูก มีประจำเดือน มีเต้านม)
  • ผู้พิการทางกาย
  • ผู้พิการทางจิตใจ
  • โรคหัวใจเรื้อรัง หัวใจขาดเลือด หรือหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจ
  • โรคปอดเรื้อรัง รวมถึงวัณโรค หอบหืด และถุงลมโป่งพอง
  • โรคไตเรื้อรัง
  • โรคตับเรื้อรัง
  • โรคต่อมไร้ท่อเรื้อรัง รวมถึงเบาหวาน ไทรอยด์
  • โรคทางสมองเรื้อรัง
  • โรคติดเชื้อเรื้อรัง รวมถึงวัณโรค เมลิออยด์
  • โรคใดก็ตามที่แพทย์รักษาแล้วไม่ดีขึ้นใน 2 สัปดาห์
  • ผู้ป่วยกังวล หรือต้องการความรู้หรือคำแนะนำ
  • หัตถการ การผ่าตัด
เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่เล็กมาก (30 เตียงขึ้นไป) ควรมีการแบ่งคลินิกเฉพาะโรค และมีแพทย์เฉพาะทางในสาขาเหล่านี้
  • คลินิกตรวจสุขภาพ ป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ และฉีดวัคซีน
  • คลินิกบรรเทาอาการ (supportive/palliative care)
  • คลินิกนวด/หัตถการ/ผ่าตัด/กายภาพ ฯลฯ
  • คลินิกผู้สูงอายุ
  • คลินิกเด็กแรกเกิด
  • คลินิกเด็กเล็ก/เด็กโต
  • คลินิกวัยรุ่น
  • คลินิกจิตเวชและโรคทางสมอง หรือมีปัญหาพฤติกรรม
  • คลินิกให้คำแนะนำและบำบัดผู้เสพสารเสพติด บุหรี่ สุรา
  • คลินิกผดุงครรภ์
  • คลินิกโรคนรีเวช
  • คลินิกโรคหัวใจ
  • คลินิกโรคปอด
  • คลินิกโรคไต
  • คลินิกโรคตับ
  • คลินิกโรคต่อมไร้ท่อ
  • คลินิกผลแล็บ/อายุรกรรม
  • ผู้เชี่ยวชาญผู้ป่วยใน
  • ศูนย์อุบัติเหตุ (trauma center)
  • เป็นต้น
การแก้ปัญหาว่าแพทย์ทั่วไป แพทย์จบใหม่ จะต้องมีความรู้มากขึ้น ผมคิดว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกทางครับ ต้องแก้ที่การจัดระบบ เพราะเวลาเรียนแค่ 6 ปี กับแต่ละคนที่มีความสามารถเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน ไม่สามารถทำให้เป็นซูเปอร์แมนได้ทุกคนหรอกครับ

ส่วนเรื่องสวัสดิการในการบริการสุขภาพ ผมก็พอมีคำตอบคร่าวๆครับ คือ ตรวจโรคทั่วไปพื้นฐานมากๆระดับแพทย์จบใหม่ อุบัติเหตุในระดับ trauma center ระดับล่างสุด และโรคเรื้อรังบางโรค ก็อาจจะให้ฟรีได้ครับ (หรือให้ซื้อเป็นประกันสุขภาพก็ได้ครับ)

Thursday, April 7, 2016

Cornell note taking style เทคนิคการจด note ได้ทุกอย่าง ทุกการประชุม

ถามว่าเดี๋ยวนี้ผมจดโน้ตยังไง

ผมใช้สมุดเส้นแนวนอน สันห่วง เล่มเดียวครับจดได้ทุกอย่าง


เทคนิคการจด คือแบ่งกระดาษแบบนี้ครับ ใช้ปากกาตีเอาเลย