Wednesday, July 13, 2016

แพทย์รังสีรักษา และแพทย์เวชศาสตร์นิวเคลียร์

ผมเพิ่งมา elective รังสีรักษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์

ว่าแต่ว่า รังสีรักษา คืออะไร เดี๋ยวผมจะอธิบายให้ฟัง



ภาควิชารังสีวิทยา (radiology) ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 แขนง คือ รังสีวินิจฉัย รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

ที่เราๆรู้จักกันดีที่สุดก็เห็นจะเป็น รังสีวินิจฉัย ก็คือ รังสีแพทย์ คนอ่านฟิล์ม ผล official

ส่วนรังสีรักษา (radiotherapy) จะเป็นแนว oncology + radiosurgery + anatomy ซึ่งมีศาสตร์ของการอ่าน CT/MRI แล้วก็วางแผนฉายแสง ซึ่งอาจจะทำลายทั้งเนื้อเยื่อดีและไม่ดี คล้ายๆกับการผ่าตัด การวางแผนทำบนคอมพิวเตอร์ และวาดเส้นลงบนตัวคนไข้

ส่วนเวชศาสตร์นิวเคลียร์ (nuclear medicine) ผมไม่ได้ลอง elective ดู แต่ว่าเป็นแนว radiopharmaceutical คือ เป็นยาแรงๆ คล้ายๆเคมีบำบัด แต่ปล่อยรังสีได้ อีกครึ่งหนึ่งก็จะเป็นเรื่องของ nuclear imaging คือ อารมณ์ประมาณ contrast media ที่ปล่อยรังสีได้ แล้วอาจจะเอา gamma camera จับ

จะเห็นว่า รังสีรักษา จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ปล่อยรังสีได้ จึงจะมีอุปกรณ์รักษาคนไข้ อย่างเช่น Co-60 + ผนังตะกั่วหนา 6 นิ้ว หรือไม่ก็ต้องเป็นเครื่องเร่งอนุภาค (เช่น LINAC, cyclotron) ซึ่งมีราคาแพงมาก รพ.เล็กๆ ไม่มีแน่นอน

ส่วนเวชศาสตร์นิวเคลียร์ อาจจะซื้อ I-131 หรือ Mo-99 จากบริษัทที่จำหน่าย radiopharmaceutical หรือไม่ก็ต้องใช้เครื่องเร่งอนุภาคผลิตเสียเอง (อาจจะเป็นพวก cyclotron) ซึ่งก็มีราคาแพงเหมือนกัน

ข้อดีของรังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คือ มีช่องทางให้วิจัย ศึกษาเพิ่มเติมได้มาก แต่ข้อเสียคือ อุปกรณ์ราคาแพง มีที่ทำงานน้อยแห่ง แต่สถานที่ที่เราจะทำงาน ก็ใช่ว่าจะมีอุปกรณ์ครบเท่าที่ที่เรียน