Wednesday, June 24, 2015

การเตรียม present case แบบ active และแบบ passive

คล้ายๆกับ post ที่แล้ว

การเตรียมเคส present แบบ active ได้แก่ การ consult case อาจารย์ การราวน์เคสตอนเช้า เป็นต้น
เรื่องที่ต้องเตรียม แบ่งออกเป็น 3 ระดับ

  1. สิ่งที่ไม่ได้อยู่ใน chart ต้องถามคนไข้ ได้แก่ subjective ประวัติ ผลตรวจร่างกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องตรวจและซักเอง และจำให้ได้ให้หมด โดยจะแบ่งมองเป็นอย่างน้อย 2 มิติ คือ approachable problem list และ systematic review
  2. สิ่งที่มีอยู่ใน chart แต่ไม่ได้อยู่ใน computer ได้แก่ vital signs, order, progress note และ film บางอัน เช่น portable CXR และ CT brain ในบางครั้ง
  3. สิ่งที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ ได้แก่ lab, film บางอัน และประวัติเก่า
ในส่วนของข้อ 2 และ 3 ควรจำให้ได้ ถ้ามันเกี่ยวกับ problem list ของคนไข้ และเกี่ยวกับเรื่องที่จะ consult นอกจากนั้น ยังมีประเด็นว่าทั้งข้อ 2 และ 3 โดยเฉพาะ ข้อ 2 ต้องเรียบเรียงมา present ให้รู้เรื่อง ถ้าจะ present ทางโทรศัพท์

ส่วนในแง่ของการ present case แบบ passive เช่น ถามถูกญาติถามอาการคนไข้จะมีประเด็น คือ ต้องจำให้ได้ทั้งหมด ทั้งข้อ 1, 2 และ 3 ต้องรู้ทั้งมิติ approachable problem list และ systematic review และรู้ว่าจะทำอะไรต่อ แต่ก็มีสิ่งสำคัญไม่เท่ากันเรียงตามลำดับดังนี้
  1. Problem list
  2. Plan of management
  3. Subjective และ ผลตรวจร่างกาย
  4. Progress note และ lab ที่สำคัญ
  5. Lab ที่สำคัญ
การเตรียม case มีอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ 3 คือ การ supervision อย่างน้อยเราก็ต้องมีการเตรียม case แบบ pasive + ใช้วิจารณญาณของเราในการเฝ้าระวังคนไข้ โดยเฉพาะ

  1. Systematic review --> Keep patient safe
  2. Approachable problem list จะได้ไม่หลุดปัญหา หลุด management และผู้ป่วยจะได้กลับบ้าน
  3. Subjective
  4. Lab ที่สำคัญ

ท้ายสุดนี้ ขอให้ผมและทุกท่านโชคดี

ปล. ถ้าถามว่า subjective คืออะไร มันคือ SOAP note ครับ subjective-objective-assessment-plan

Friday, June 19, 2015

Problem list is a grid, rather than a numbered list

เรื่องนี้มาจากไอเดียที่ว่า...
ผม approach ผู้ป่วยทุกคนเหมือนกัน คือ ตามระบบ
แต่อาจารย์และเพื่อนผมหลายๆคนบอกว่า แล้วแต่คนไข้ แล้วแต่ปัญหาที่คนไข้มี แล้ว problem list
แล้วคำตอบที่ถูกต้องคืออะไรล่ะ ทำอย่างไรไม่ให้ขาดตกสักปัญหา แล้วความละเอียดคืออะไร

ผมคิดว่าคำตอบคือ get อะไรโดยไม่ต้องเขียนทุกอย่าง ก็คือเขียน problem list เป็นโรค แต่ไม่ต้องเขียนเป็นระบบครับ จะได้ approach ถูก เราไม่สามารถเขียนทุกอย่างที่คิดได้ในทางปฏิบัติครับ เราควรคิดเป็นอย่างน้อย 2 หรือ 3 มิติขึ้นไป แต่ยังไงเราก็เขียนได้ทีละมิติครับ

ข้อเสนอแนะ...
มิติที่ 1 problem list ที่เราต้องวางแผนวิธี approach และ follow up ต่างกันไปตามแต่ละคนไข้
มิติที่ 2 approach ตามระบบ
  • Baseline status
  • CVS and vital signs
  • RS
  • KUB
  • Hematology
  • Endocrine
  • Neurology
  • GI and nutrition
  • Musculoskeletal
  • Skin, bed sore
  • Infectious diseases and antimicrobials
    • CBC and hemoculture
    • CXR and sputum culture
    • UA and urine culture
    • Bed sore / abscess and pus culture
  • Lines, tubes, prothesis and other potential infectious sources
มิติที่ 3 ตาม SOAP note
มิติอื่นอาจจะมีอีก แต่ต้องฝากช่วยกันคิดนะ

เพิ่มเติม...
แล้วจะจำแนกประเภทของ Problem list อย่างไรดีล่ะ
ผมขอแยก problem list ตาม etiology เป็น systemic ก่อน local แล้วก็ 'แก้ง่าย' ก่อน 'แก้ยาก'

  1. Systemic
    • Infection
    • Autoimmune / inflammatory
    • Malignancy
    • Degenerative
  2. Local
    1. Infection
    2. Trauma
    3. Degenerative
  3. Underlying conditions อื่นๆ

Monday, June 15, 2015

โรคประจำตัว และการกินยาทุกวัน วันละหลายเวลา

ปัญหานี้ ภาษาอังกฤษเรียกว่า polypharmacy ครับ นิยามมันคือกินยาวันละมากกว่า 5 ชนิด

เมื่อคุณมีอายุมากขึ้นแล้วไปหาหมอ ไม่ว่าเป็นเพราะป่วยหนัก หรือเพื่อตรวจสุขภาพ ก็อาจตรวจพบสิ่งที่เรียกว่า โรคประจำตัว แล้วก็สั่งให้คุณกินยาทุกวัน วันละหลายเวลาเพื่อควบคุมโรคเหล่านั้น

หลายคนอาจไม่ชอบกินยาทุกวัน ทำให้กินยาโรคประจำตัวไม่สม่ำเสมอ บ้างก็ขาดกินยา ไม่ยอมกินยา ต่อมาก็อาจจะถูกหามมาโรงพยาบาลด้วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต พอหมอซักประวัติหาสาเหตุ หมอก็สรุปว่าเป็นเพราะ "ไม่ยอมกินยา"

บอกตามตรง ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบแน่ ถ้าถูกบอกให้กินยาสม่ำเสมอทุกวัน ผมจะขอบอกเหตุผลครับ ที่คุณควรกินยา หรือไม่ควรกินยาครับ

เหตุผลข้อแรกที่ควรกินยาครับ คือ โอกาสที่คุณจะถูกหามมาโรงพยาบาลด้วยเรื่องโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ตัดแขน ตัดขา ตามัว ตาบอด เท้าชา เป็นแผลที่เท้า ลดน้อยลงแน่นอนครับ ส่วนโรคหัวใจ โรคไต ถ้าว่ากันตามหลักฐานทางการแพทย์ (evidence-based) เขาว่าลดลงครับ

แต่มันมีหลายๆกรณีที่การกินยาก่อให้เกิดโทษเหมือนกัน ข้อแรกก็คือ บางครั้ง ยาทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้เหมือนกัน แม้ว่ายาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรงครับ อาการข้างเคียงที่ว่าได้แก่ แพ้ยา หัวใจเต้นช้า เกลือแร่เลือดผิดปกติ ขาบวม หน้ามืดง่าย เหนื่อย อ่อนเพลีย ไตทำงานแย่ลง ปวดแข้งปวดขา ถ้าไตหรือตับทำงานแย่ลงก็จะมีปัญหาได้อีกครับ เกิดจากการที่ระดับยาในเลือดสูงเกิน เช่น หมดสติ เหงื่อออกใจสั่น เหนื่อย เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ผมแนะนำให้คุณรู้จักยาทุกชนิดที่คุณกินครับ ว่าชื่อตัวยาอะไร กินเพื่อแก้อะไร มีอาการข้างเคียงอย่างไรได้บ้าง

โทษข้อที่สองที่สำคัญ คือ ถ้าคุณกินยาเยอะๆ หลายชนิด โดยเฉพาะมากกว่า 5 ชนิด ก็จะมีปัญหาจากยาบางคู่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ จนทำให้เกิดพิษจากยา ดังเช่นอาการข้างเคียงที่กล่าวข้างต้น คือระดับยาสูงเกินไป บางครั้งก็อาจทำให้ระดับยาต่ำเกินไปจนเกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ได้เช่นกัน

โทษข้อที่สามที่หมอมักไม่ได้พูดถึงและไม่เห็นความสำคัญ คือ การกินยามันทำให้คุณรู้สึกว่าป่วย แล้วหันมาพึ่งพายาและคำแนะนำจากหมอมากขึ้น พึ่งพาตัวเองน้อยลง มีความมั่นใจในตัวเองลดลง สุขภาพจิตซึมเศร้า ได้

ดังนั้น ขอสรุปคำแนะนำนะครับ

  1. ยาที่ควรกินแน่ๆ ไม่ควรขาดยา ได้แก่ ยาความดัน ยาโรคเบาหวาน ยาโรคไต ยาโรคตับ ยาโรคไทรอยด์ เพราะหากไม่กินจะทำให้ป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาลหรือถึงแก่ชีวิตได้ ยาโรคหัวใจและยาโรคอื่นๆก็เช่นเดียวกัน แต่คนไข้อาจเห็นประโยชน์จากการกินยาไม่ชัด แต่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าได้ประโยชน์
  2. ควรกินยาให้น้อยชนิดที่สุด คือกินยาที่เท่าที่จำเป็น ถ้ารู้สึกว่ามันเยอะเกินไป ก็ถามหมอก็ได้ ขอให้ลดยา
  3. รู้จักยาทุกชนิดที่ตัวเองกินอยู่ ว่าชื่อตัวยาอะไร รักษาโรคอะไร มีอาการข้างเคียงอย่างไรบ้าง กินแล้วได้ประโยชน์แค่ไหน โดยอาการข้างเคียงและประโยน์ที่ได้รับจากการกินยาควรเป็นสิ่งที่คนไข้เห็นได้ชัด มากกว่าที่แพทย์เห็น
  4. ยาสำคัญบางชนิดอาจต้องรู้จักเป็นพิเศษ และจำชื่อได้เมื่อแพทย์ถาม ได้แก่ ยาวอร์ฟาริน และยาละลายลิ่มเลือด (แอสไพริน หรือพลาวิก หรือโคพิโดเกรล)